เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) คืออะไร หลักการทำงานของระบบค้นหาข้อมูล

เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) คืออะไร หลักการทำงานของระบบค้นหาข้อมูล

เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) หมายถึง โปรแกรมค้นหา ที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือใช้งานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  โดยโปรแกรมส่วนมากที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ Search engines จะมีวิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลหรือคำที่ต้องการสืบค้นลงไป แล้วเว็บไซต์จะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาให้ผู้สืบค้นข้อมูลทราบ ซึ่งคำค้นหาที่ใช้จะเรียกว่าเป็น Keyword (คีย์เวิร์ด) ของการสืบค้นข้อมูล ในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Search Engine ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่ทำการค้นหาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถทำการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ และบันทึกประวัติการค้นหาไว้สำหรับการกรองผลลัพธ์การค้นหาครั้งต่อไป เพื่อช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูล สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ

การค้นหาข้อมูล หมายถึง การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการค้นหาที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ จะต้องทำการค้นหาจากเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลหรือเรียกว่า Search Engine Site ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง

รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม

  • Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
  • Bing (www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง
  • Yahoo (www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft)
  • Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คำถาม-คำตอบ มากกว่า How-to
  • AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม
  • Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้ เป็นเว็บ Search Engine ประจำประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ Google
  • Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สำหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสารวิชาการต่างๆ
  • DuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตาสะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณา
  • Internet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า – เว็บไซต์ที่ผิดตัวไปแล้ว

ประโยชน์ของ Search Engines

Search Engines มีประโยชน์ในการใช้สืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความตรงการแก่ผู้สืบค้นข้อมูล ดังนั้นการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ใหม่ๆ ในในปัจจุบันจึงควรคำนึงถึงรูปแบบของเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมแก่ Search Engine ด้วยเช่นกัน (เรียกว่าการทำ SEO) เพื่อให้ผู้สืบค้นสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

  1. ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
  2. ค้นหาข้อมูลได้อย่างละเอียด และหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ข่าว เพลง รูปภาพ และอื่นๆ เป็นต้น
  3. ค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์เฉพาะทางต่างๆ ได้ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับ ขาย Software หรือ เว็บไซต์รับทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
  4. ค้นหาข้อมูลได้อย่างหลากหลาย
  5. รองรับการค้นหาได้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย

ประเภทของ Search Engines

Search Engine สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยมีความแตกต่างกันที่หลักการทำงาน และการจัดอันดับข้อมูลในการค้นหา

  1. Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Search Engines ชนิดนี้เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในการใช้งานสูงสุด มีหลักการทำงานโดยการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ สามารถให้ผลลัพธ์การค้นหาที่มีความแม่นยำสูง และมีการประมวลผลที่รวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในปัจจุบัน Crawler Based Search Engines มีบทบาทในการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด
  2. Web Directory คือ สารบัญเว็บไซต์สำหรับการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร ที่มีการจัดระเบียบและแบ่งข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ผู้สืบค้นจึงสามารถใช้งานได้ง่ายและมีความสะดวกในการค้นหา โดยในการค้นหาจะมีการสร้างดรรชนี และระบุหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ทำให้ในขณะที่กำลังทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ในหมวดหมู่หนึ่ง ที่อาจมีเนื้อหาคล้ายกันมากมายหลายเว็บไซต์ ผู้สืบค้นสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาเปรียบเทียบ และอ้างอิงเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่มีคุณภาพ และตรงประเด็นมากที่สุดได้
  3. Meta Search Engine คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีหลักการทำงานโดยการอาศัย Meta Tag สำหรับประกาศชุดคำสั่งที่ได้รับมาในรูปแบบของ Tex Editor โดยใช้ภาษา HTML ในการประมวลผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น คำค้นหา “บริษัท วันบีลีฟ” หรือคำอธิบายเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่ง Search Engine ชนิดดังกล่าวนี้ เป็นชนิดที่มีความแม่นยำในการค้นหาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสามารถถูกแก้ไขและออกแบบได้โดยผู้ให้บริการ เพื่อให้บล็อกหรือเว็บไซต์ของตนเองสามารถค้นพบได้ง่ายขึ้น

Keyword คืออะไร

Keyword (คีย์เวิร์ด) คือคำค้นหา หรือคำอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นๆ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เรากำลังตามหาเพื่อสืบค้นรายละเอียดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตบนเว็บ Search Engine

ตัวอย่างคำ Keyword ที่ใช้ค้นหากันในชีวิตประจำวัน

  • ต้องการค้นหารถยนต์มือสอง คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ รถมือสอง, ราคารถมือสอง, รถยนต์มือสอง, ฯลฯ
  • มาเที่ยวต้องหาต้องการหาโรงแรมที่พัก คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ Agoda, โรงแรม, ห้อพัก, หอพัก, ฯลฯ
  • ต้องการหาร้านอาหาร คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ ร้านปิ้งย่าง, หมูกระทะ, ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

ประเภทของ Keyword ในการค้นหา

  • Niche Keyword: เป็นคำค้นหาเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มซึ่งโดยปกติแล้วเรามักพบบ่อยในชื่อเรียกรุ่นแบรด์สินค้าต่างๆ เช่น Samsung Note 8, iPhone 8 เป็นต้น
  • Widely Keyword: เป็นคำค้นหาสั้นๆ ที่มีเนื้อหาความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และมีอัตราการค้นหาสืบค้นสูง เช่น บ้านใหม่, รถมือสอง, หนังสือ, หวย เป็นต้น
  • Mass Keywords: เป็นคำค้นหาสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องในกลุ่มคำเดียวกัน เช่น iPhone X, iPad Pro, Macbook Air เป็นต้น
  • Misspelling Keyword: เป็นคำค้นหาต่างๆ ที่มีการสะกดคล้างคลีงหรือที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งแบบตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทาญาติ, ธาญาต, ทายาท เป็นต้น

ในปัจจุบันคีย์เวิร์คคำค้นหานั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Search Engine เป็นอย่างมาก ยิ่งคีย์เวิร์ดคำค้นหายิ่งสั้นและกระชับมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมียอดค่าการค้นหาที่สูงมากขึ้นตามไปด้วยหลายเท่าตัว เว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพที่ดี และมีการทำ SEO ที่ถูกหลักร่วมด้วยเท่านั้นจึงจะมาอยู่ในน้า 1 ของการค้นหานี้ได้

หลักการทำงานของ Search Engines

กระบวนการทำงานของ Search engines บนเว็บไซต์ทั่วไป สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ใช้โปรแกรมรวบรวมเอกสารเว็บ (spider หรือ crawler)

ขั้นแรกที่ Search engines ทำการสำรวจและตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จากโดเมน แล้วติดตาม Links ที่พบภายในเว็บไซต์ทั้งหมด โดยการทำงานของโปรแกรมมีรูปแบบลักษณะโยงใย จึงเรียกโปรแกรมดังกล่าวว่า Spider หรือ Crawler ซึ่งหลังจากที่ Spider ทำการติดตาม Links และนำข้อมูลของเว็บไซต์เหล่านั้นไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine เรียบร้อยแล้ว Spider จะกลับไปทำการสำรวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในเว็บไซต์เหล่านั้น ทุกๆ เดือนหรือสองเดือน

Spider

2. จัดทำรายการดรรชนี

เมื่อโปรแกรม Spider ทำการค้นพบข้อมูลต่างๆ แล้ว จะมีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปทำสำเนา และส่งไปจัดเก็บยังรายการดรรชนี ที่เรียกว่า index หรือ catalog ซึ่งเมื่อข้อมูลในเว็บไซต์หลักมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ข้อมูลภายในสมุดดรรชนีเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยตามบัญชีดัชนีที่ถูกกำหนดไว้

3. โปรแกรมสืบค้น

โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลของ Search Engine โดยมีการทำงานเริ่มต้นจากการรับคำค้นหาที่ถูกป้อนเข้ามาในโปรแกรม โดยผู้ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วนำคำค้นหาไปจับคู่กับดรรชนีในฐานข้อมูล หลังจากนั้นจึงจะทำการดึงเอกสารจากเว็บไซต์นั้นๆ หรือดึงข้อมูลจากฐานออกมาประมวลผลลัพธ์ให้แก่ผู้สืบค้น ซึ่งจะมีการจัดลำดับผลการค้นหาตามระดับความเกี่ยวข้องของข้อมูล

เทคนิคค้นหาด้วย Google

การค้นหาข้อมูลโดยใช้ search engine จากเว็บไซต์ Google สามารถใช้งานได้ไม่ยากและสะดวกรวดเร็ว มีเทคนิคในการสืบค้นข้อมูล ดังนี้

การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา

หากต้องการยกเว้นผลลัพธ์การค้นหาผ่านเว็บไซต์ Google สามารถทำได้โดยการใส่เครื่องหมายลบ (-) วางไว้ข้างหน้าคำที่ไม่ต้องการค้นหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย – มาใช้วางไว้ข้างหน้าคำใดๆ ที่ใช้ค้นหาจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาโดย exclude คำๆ นั้นออกไป ซึ่งวิธีการค้นหาดังกล่าวเป็น Operator ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลให้มีความแม่นยำได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น

คำค้นหาที่ Google จะทำการประมวลโดย Match การค้นหาเข้ากับแหล่งข้อมูลที่มีเฉพาะคำว่า “การตลาด” รวมอยู่เท่านั้น แต่ในหน้านั้นๆ จะต้องไม่มีคำว่า “โฆษณา”

การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ

หากต้องการทำการค้นหาเอกสารนามสกุลต่างๆ ได้แก่ เอกสารในรูปแบบ .DOC .PDF หรือเอกสารนามสกุลอื่นๆ ผู้สืบค้นสามารถค้นหาได้เพียง พิมพ์ชื่อเอกสารที่ต้องการ แล้วต่อท้ายด้วย filetype:นามสกุล ของเอกสารนั้นๆ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์เป็นไฟล์เอกสารที่ถูกเก็บไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น

การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง

หากต้องการค้นหารอบหนังหรือรีวิวภาพยนตร์ต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์ชื่อภาพยนตร์ที่ต้องการ จากนั้นทางเว็บจะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดช่วงเวลาของรอบหนัง รวมทั้งรีวิวของหนังเรื่องนั้นๆ และสามารถทำการจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย ตัวอย่างเช่น

การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา

หากต้องการตรวจสอบคะแนนหรือผลการแข่งขันกีฬาต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์ชื่อนักกีฬาหรือชื่อทีมที่ต้องการ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดของการแข่งขันครั้งล่าสุด ตารางการแข่งขัน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสอบสภาพอากาศ

หากต้องการตรวจสอบสภาพอากาศในแต่ละวัน สามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์คำว่า Weather แล้วตามด้วยชื่อสถานที่ที่ต้องการทราบ เว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงพยากรณ์อากาศในวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น “Weather ลำปาง” หรือ “พยากรณ์อากาศ ลำปาง” เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทยการค้นหาพยากรณ์อากาศยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากข้อมูลที่มีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ

การแปลงหน่วย

หากต้องการแปลงหน่วย ผู้สืบค้นจะต้องทำการพิมพ์หน่วยที่ต้องการแปลงลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ประมวลผลลัพธ์ โดยสามารถแปลงได้ครอบคลุมทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น GB=MB หรือ 10CM=M

การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์

หากต้องการตรวจสอบหรือดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์สำหรับผู้เล่นหุ้น สามารถค้นหาผ่านทางเว็บไซต์ Google เพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น TCAP, ITD

การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์

หากต้องการคิดคำนวณ ผู้สิบค้นสามารถนำเลขจำนวนที่ต้องการทราบค่ามาคำนวณผ่าน Google ได้ โดยพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ทำการประมวลค่าเป็นคำตอบ ตัวอย่างเช่น

การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์

หากต้องการค้นหาบางอย่างให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ผู้สืบค้นสามารถพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตามหลังสิ่งที่ต้องการทราบได้ตัวอย่างเช่น “รับทำการตลาดออนไลน์ site:1belief.com” หรือ “การตลาด site:sanook.com” เป็นต้น

เทคนิคเพิ่มเติมที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูลบน Search Engine

ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้นหาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังวิธีการต่อไปนี้

  1. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาดแคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
  2. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้จะเป็นที่น่าพอใจมากกว่า
  3. ใส่เครื่องหมายคำพูด “ … ” ครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเราต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น “free shareware” เป็นต้น
  4. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น ราคาพืช* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *พืช เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย พืช ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (” “) ลงไปด้วย เช่น “windows 98”
  6. หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
  7. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Sitemap ไว้คอยช่วยเหลือ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/sitemap จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์

Matching ของ Search Terms

สำหรับการสืบค้นข้อมูล สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดแหล่งข้อมูล รวมทั้งข้อเท็จจริงของข้อมูลคือการเลือกใช้คำหรือ Keyword ในการค้นหา ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมการ Matching ให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ ผู้สืบค้นจึงควรทำการ Matching และใส่ Operator พิเศษเข้าไปใน Search Term

  • คำค้นหา = การตลาด ออนไลน์ : โดยปกติของการค้นหาข้อมูล ผู้สืบค้นส่วนมากมักจะทำการใส่ Search Term ด้วยคำหรือคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาโดยตรง โดยไม่มีการระบุ Operator พิเศษไว้ ดังนั้นวิธีการ matching ที่ใช้คือ Google จะทำการประมวลผลลัพธ์จากคำค้นหาที่มีคำทั้งสองรวมอยู่ โดยไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังของคำนั้นๆ ได้แก่ คำว่า การตลาด และ ออนไลน์ มากกว่านั้น Google ยังจะทำการแสดงผลลัพธ์ของคำที่เป็นพหูพจน์ คำที่มีความหมายคล้ายกัน และไม่นับรวมคำสะกดผิด
  • คำค้นหา = “การตลาด ออนไลน์” : การสืบค้นข้อมูลโดยการใส่ Double Quote (“…”) ให้กับคำที่ต้องการค้นหาลงไปใน Search Term จะทำให้ผู้สืบค้นได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น โดย Google จะใช้วิธีการ match คำทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลของคำผสมที่ใช้ค้นหา รวมทั้งจะทำการนับรวมคำค้นหาที่ถูกวางไว้ข้างหน้าและข้างหลังของคีย์เวิร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัท รับทำ การตลาด ออนไลน์ เป็นต้น
  • คำค้นหา = การตลาด +ออนไลน์ : การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย + มาใช้สำหรับใส่คั่นระหว่างคำสองคำจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลของคำว่า การตลาด หรือ ออนไลน์ ซึ่งมีหลักการค้นหาคือ หากระบบค้นหาพบเพียงคำใดคำหนึ่ง คำนั้นจะถูก Matching เข้ากับสิ่งที่ระบุไว้ โดยส่วนมากวิธีการค้นหาข้อมูลในรูปแบบดังกล่าว จะถูกนำมาใช้สำหรับค้นหาคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่สามารถเขียนได้หลายแบบ หรือคำที่มักเขียนผิด ซึ่งคำเหล่านี้หากใช้วิธีการค้นหาแบบปกติ Matching ของ Google Trends จะไม่นับรวมไปประมวลผล

ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google เกิดขึ้นจากแนวคิดจากวิทยานิพนธ์ของนาย Larry Page และนาย Sergey Brin โดยมีเนื้อความถึงการตั้งสมมุติฐานที่ว่า โปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นที่แสดงผลการค้นหาที่มีความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม ดังนั้นจึงได้มีการสร้างโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นของ Google ขึ้นมา โดยใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน และยังมีการกำหนดอีกว่า เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดี จะต้องมีการเชื่อมโยงลิ้งค์กับหน้าเว็บเพจอื่นมากที่สุด และในเดือนกันยายน ค.ศ.1998 บริษัท Google,Inc. ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo!

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! เกิดขึ้นจากการที่นาย David Filo และนาย Jerry Yang ได้ร่วมกันทำงานอดิเรกชิ้นหนึ่ง และสร้างงานนี้ขึ้นมาในชื่อว่า “Jerry and David’s guide to the World Wide Web” เพื่อใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสารบัญของเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ด้วยกัน โดยในเวลาต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! และมีการนำมาใช้งานจนทุกวันนี้ (ปัจจุบัน Yahoo ขายกิจการให้ Verizon แล้ว)

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search ได้มีการเปิดตัวขึ้นมาในครั้งแรกในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับโปรแกรม Windows 95 โดยตรง พร้อมกับให้บริการสำหรับเสิร์ชหาเว็บไซต์ต่างๆ และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างครบวงจร จึงเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ Microsoft Network นอกจากนี้ยังใช้สำหรับเป็นพื้นที่ในการเก็บอีเมลล์ฟรี ในชื่อ Hotmail ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงแรกๆ ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาจนเกิดโปรแกรมสนทนาออนไลน์ขึ้นมา ซึ่งก็รู้จักกันดีในชื่อของ MSN Messenger และยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Baidu เกิดขึ้นโดย โรบิน ลี (Mr.Robin Li) ซึ่งเป็นนักศึกษาจีน และได้ไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงได้กลับมาเปิดบริษัทที่ประเทศจีน และสร้าง Baidu ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านอินเทอร์เน็ตและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในการเสิร์ชเอนจิ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบไฮเปอร์ลิ้งก์ เพื่อให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับบริการต่างๆ ได้ดี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไป่ตู้ก็ได้ประสบความสำเร็จและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี โดยในแต่ละวันก็จะมีการพิมพ์คำสืบค้นลงในแพลตฟอร์มของไป่ตู้มากกว่าหมื่นล้านคำ ปัจจุบันยังมีการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมกับปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลจากการค้นหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ชาวจีนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

YouTube เป็น Search Engine อันดับ 2 ของโลก

YouTube ถูกยกให้เป็นบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์หรือเสิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เพราะมีคนเข้ามาค้นเนื้อหาที่สนใจในรูปแบบวิดีโอมากกว่า 3 พันล้านครั้งต่อเดือน หากลองให้ใครสักคนนึกถึงเว็บไซต์อัพโหลดและแชร์คลิปวีดีโอชื่อดังระดับโลก เชื่อว่าหลายคนจะต้องนึกถึง “YouTube” แต่บทบาทของ YouTube นอกแหนือจากจะเป็นเว็บไซต์เบอร์หนึ่งในด้านการอัพโหลดและแชร์คลิปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตำแหน่งที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึงกัน ก็คือเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้ความนิยมเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าเว็บไซต์อย่าง Bing, Yahoo, Ask และ AOL รวมกันทั้งหมดเสียอีก

YouTube ถูกก่อตั้งในปี 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal จำนวน 3 คน โดยภายในระยะเวลาแต่เพียงปีเดียวหลังจากการก่อตั้งเท่านั้น Google ได้เข้ามาซื้อ YouTube ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจนมาถึงในยุคปัจจุบัน YouTube กลายเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ช่องทางในการชมวีดีโอ นอกจากผ่านทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบปกติแล้ว การชมผ่านโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน โดยจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกมีการเข้าชมวีดีโอ YouTube บนโทรศัพท์มือถือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของการชมคลิปวีดีโอทั้งหมดบน YouTube

การสำรวจพบว่า 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับบน YouTube ที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก คือจำนวนวิว (ผู้ชม), ชื่อของคลิปวีดีโอ, คำบรรยายคลิป รวมถึงจำนวน Like และ Dislike บนคลิป ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยล้วนมีความสำคัญทำให้การแสดงผลของวีดีโอมีอันดับที่สูงขึ้น

ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่สามารถทำหน้าที่เป็น Search Engine Site มีให้บริการมากมายแก่ผู้สืบค้นข้อมูลเพื่อทำให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายมากขึ้น โดยการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Search Engine บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ มีความเปิดกว้างและไม่มีการจำกัดขอบเขต ผู้สืบค้นจึงสามารถทำการสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพจากหลากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก

เกี่ยวกับเรา

บริษัท วันบีลีฟ จำกัด รับดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลส่วนงาน IT ภายในบริษัท เรามีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพ

ติดต่อเรา

Line ID: @1BELIEF